Skip to content

Navicat Data Generation​

Data Generation นั้นเป็นหนึ่งในฟีเจอร์ใหม่ที่ทาง Navicat ได้เพิ่มเข้ามา ซึ่งมีประโยชน์มากๆ ในการจำลองการเพิ่มของข้อมูล เพื่อที่จะดูว่า การเพิ่มขึ้นของข้อมูลในปริมาณที่กำหนดนั้น จะมีผลทำให้ ดาต้าเบสนั้นได้รับผลกระทบอะไรบ้างในแง่ของประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเรื่องความเร็ว

นอกจาก ฟีเจอร์ Data Generation แล้ว Navicat version 16 นั้นยังมีฟีเจอร์ใหม่ๆ อีกหลายตัว (ซึ่งในโอกาสหน้าเราจะมาทดสอบให้ได้ดูกัน) เช่น

  • Charts
  • On-Prem Server
  • Collaboration
  • UI/UX Improvements

สำหรับวันนี้เพื่อความง่ายและความรวดเร็วในการทดสอบ เราจึงใช้ตัวอย่าง database ที่ทาง Navicat นั้นให้มาคือ SQLite Database ที่ชื่อว่า chinook

ด้วยวิธีการเดียวกันท่านสามารถนำไปใช้กับ database ตัวใดก็ได้ที่ท่านใช้อยู่ไม่ว่าจะเป็น MySQL , MS SQL, PostgreSQL หรือตัวอื่นใด

สำหรับ SQLite นั้นต้องบอกว่าเป็น database ขนาดเล็กที่ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีคุณสมบัติเต็มรูป ลักษณะเป็น self-contained หรือใช้เพียงแค่ .dll ก็สามารถทำงานได้แล้ว เราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า small footprint หรือเล็กมากๆ

กลับมาพูดถึง database ที่ชื่อว่า chinook เมื่อท่านทำการ connect ผ่านเมนู connect แล้ว ให้ท่านเลือกเป็น Existing Database File และกดเชื่อมต่อได้เลย โดยภายในดาต้าเบสตัวนี้จะประกอบด้วย tables หลายต่อหลายตัว เช่น artists, albums, media tracks, invoices และ customers ดังแสดงในรูปที่ 1

รูปที่ 1

หลังจากนั้นให้ท่านคลิ้กที่เมนู Tools -> Data Generation ดังรูปที่ 2

รูปที่ 2

หลังจากนั้น ระบบจะแสดงชื่อ database ขึ้นมา เพื่อให้ท่านทำการ generate data ใส่ไปยัง database ตัวดังกล่าว นั้นเพราะว่า ขณะนี้เรามี active database เพียงแค่ตัวเดียว แต่ถ้าท่านทำการเชื่อมต่อหลาย database ณ เวลาเดียวกัน ท่านจะต้องเลือกว่า จะทำการ generate data ไปยัง database ตัวใด

รูปที่ 3

มาถึงข้นตอนนี้ท่านยังจะสามารถเลือกที่เมนู Save หรือว่า Load Profile เพื่อให้ท่านเก็บลักษณะการทดสอบไว้ ในครั้งหลัง เพื่อจะได้ไม่ต้องมาเลือกซ้ำอีกครั้ง นอกจากนั้นก็ยังมี Options ซึ่งท่านสามารถเลือกตั้งค่าได้ เช่น จะให้ทำต่อถ้าเกิด Error หรือว่าจะลบข้อมูลใน table ก่อนการ generate data รวมถึงการใช้ transaction ดังรูปที่ 4

รูปที่ 4

หลังจากนั้นให้ท่านเลือก tables ที่ต้องการ generate data ใส่ลงไป ดังรูปที่ 5

รูปที่ 5

หลังจากท่านกด Next ระบบจะทำการ preview ข้อมูลที่จะถูก insert ลงใน table ที่ท่านเลือก ให้ท่านกด Start เพื่อดำเนินการได้เลย

รูปที่ 6

รูปที่ 7

ระบแสดงข้อมูลว่าได้ทำการเพิ่ม record ลงใน table ที่กำหนด ได้ 2319 records โดยมี 684 records ที่ทำการ insert ไม่ได้เพราะปัญหาด้าน unique constraints เมื่อท่านย้อนกลับไปดูที่ การ view data ท่านก็จะเห็นข้อมุลตัวอย่างที่ระบบทำการ insert ให้กับท่านดังรูปที่ 8

รูปที่ 8

สำหรับ data generation นั้นต้องบอกว่าเป็นฟีเจอร์ที่ดีมากๆ ตัวอย่างใน Navicat สำหรับการทดสอบ การเพิ่มข้อมูล เพราะระบบมีความสามารถในการ กรอกข้อมูลตัวอย่างได้เอง โดยการสุ่ม ทำให้เราไม่ต้องมานั่งเพิ่มข้อมูลตัวอย่างด้วยตัวเอง รวมถึงยังสามารถทดสอบว่า เมื่อมีข้อมูลปริมาณเยอะจะส่งผลเสียอะไรบ้างกับฐานข้อมูลของเราอีกด้วย

สำหรับ ท่านใดที่สนใจโปรดักส์ Navicat ทุกอย่าง สามารถ ติดต่อทางบริษัท ไนน์ที ได้ตลอดเวลา เรามีทีมเซลล์พร้อมให้คำปรึกษาท่านตลอดทุกวัน